การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง
FOOD SENSITIVITY (IGG) TEST : การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง
การแพ้อาหาร เกิดจากการที่ร่างกายเข้าใจผิดว่าอาหารบางชนิดเป็นสิ่งแปลกปลอม ภูมิต้านทานในร่างกายจึงเกิดปฎิกิริยากับอาหารชนิดนั้นๆ ซึ่งปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นมีหลายแบบ เช่น
- แพ้อาหารแบบ IgE – เป็นการแพ้อาหารที่รู้จักกันทั่วไป ทำให้เกิดการบวมเฉพาะที่ เช่น ผื่นบวมคัน หน้าบวม ปากบวม หายใจไม่ออก แม้กระทั่งเสียชีวิต ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ การแพ้อาหารชนิดนี้มักเป็นตลอดชีวิต แต่ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบอื่นๆ ของร่างกาย
- แพ้อาหารแบบ IgG หรือ การแพ้อาหารแฝง
IgG ย่อมาจาก Immunoglubulin G เป็นสารภูมิคุ้มกันที่เม็ดเลือดขาวสร้างขึ้น
IgG บางชนิดอยู่ในร่างกายเราทั้งชีวิต แต่บางชนิดหายไปเมื่อเวลาผ่านไป
การแพ้อาหารแบบ IgG จึงสามารถหายได้ (แต่บางชนิดก็เป็นตลอดชีวิตได้เช่นกัน)
IgG มีความพิเศษคือเป็นสารภูมิคุ้มกันที่มีระบบล็อคเป้าหมาย โดยการจดจำรูปลักษณะของเป้าหมาย หากเจอเป้าหมายที่มีลักษณะเหมือน หรือคล้ายกันมาก จะพุ่งเข้าโจมตีทันที หากโชคร้าย เซลล์ในร่างกายของเราดันมีหน้าตาคล้ายกับเป้าหมาย IgG ก็จะพุ่งเข้าโจมตีเซลล์ของเราทันทีเช่นกัน
ทำให้บางครั้งการแพ้อาหารแฝงเรื้อรัง ก่อให้เกิดอาการประหลาดๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นจากการแพ้อาหารแฝงขึ้นอยู่กับว่า IgG ที่เกิดขึ้นไปโจมตีเซลล์เนื้อเยื่อใดในร่างกาย ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกๆ เซลล์ จึงเกิดอาการได้หลากหลาย เช่น
- ปวดศรีษะเรื้อรัง ไมเกรน อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า ความคิดความอ่านช้า ความจำแย่ลง นอนไม่หลับ
- ผื่นคันผิวหนังอักเสบ สิวอักเสบ ผิวโทรม หน้าเสีย ริ้วรอยชัดก่อนวัย ลมพิษเรื้อรัง รังแค สะเก็ดเงิน
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง ท้องผูก ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ
- น้ำหนักขึ้นง่าย ลงยาก ตัวบวม อึดอัด
- ภูมิแพ้อากาศ คัดจมูก น้ำมูกไหล โพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง
- ภูมิคุ้มกันแปรปรวน เป็นต้น
นอกจากนี้ หากมีการแพ้อาหารแฝงเกิดขึ้นในลำไส้ต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการอักเสบในลำไส้ขึ้นได้ ซึ่งไปรบกวนสภาพแวดล้อมของจุลินทรีย์ในลำไส้ จนเกิดความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ดีๆ จำนวนน้อยลง จุลินทรีย์ไม่ดีจำนวนมากขึ้น ทำให้ระบบความสัมพันธ์ของลำไส้ และจุลินทรีย์แปรปรวน เมื่อจุลินทรีย์ดีๆ น้อยลง จะทำให้ จุลินทรีย์สร้างวิตามินให้เราได้น้อยลง การสร้างฮอร์โมนดีๆ ภายในลำไส้ลงลด เกราะป้องกันอันตรายภายในลำไส้อ่อนแอลง จนเกิดภาวะลำไส้รั่ว (Leaky gut) ซึ่งจะย้อนกลับไปทำให้เกิดการแพ้อาหารแฝงหนักขึ้นอีก กลายเป็นวงจรอุบาทว์ ยากต่อการรักษา
หากรู้ว่าแพ้อาหารชนิดไหนบ้าง การหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้จะทำให้การสร้าง IgG ต่ออาหารชนิดนั้นๆ หยุดไป ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ได้นานเพียงพอจน IgG เดิมหายไปจากร่างกาย ก็ถือว่าหายจากการแพ้อาหารชนิดนั้น (แต่หากทำพฤติกรรมไม่ดี ก็สามารถกลับมาแพ้ใหม่ได้นะ) ระยะเวลาที่ต้องหลีกเลี่ยงขึ้นอยู่กับชนิดอาหาร (ว่าอาหารนั้นกระตุ้นการสร้าง IgG ที่มีอายุอยู่ในร่างกายนานเท่าไร) โดยส่วนมากแนะนำให้ลองหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ 3-6 เดือน แล้วตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงซ้ำอีกครั้ง
การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงของ Medtopia ใช้เทคโนโลยี Micro array จากประเทศอังกฤษ สามารถทราบภูมิแพ้ต่ออาหารมากถึง 222 ชนิด โดยใช้เลือดเพียงเล็กน้อยสามารถทราบผลได้ภายใน 1 วัน